ประกันอุบัติเหตุผู้สูงวัย 2024

อีกไม่กี่ปี เราจะเข้าสู่สังคมผู้สูงวัยอย่างเต็มรูปแบบ ผู้สูงวัยจะเป็นประชากรประมาณ 20% ของประชากรทั้งประเทศ เราคงจะเห็นผู้สูงวัยเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ  ในแต่ละครอบครัวก็จะมีผู้สูงวัย ไม่ว่าจะเป็น คุณปู่ คุณย่า คุณตา คุณยาย หรือ พ่อแม่ และหลายๆ บ้าน ทิ้งให้ผู้สูงวัย อยู่บ้านตามลำพัง


ซึ่งตรงนี้อาจเกิดอุบัติเหตุ ตั้งแต่เล็กๆ น้อยๆ จนถึงอุบัติเหตุใหญ่ที่คาดไม่ถึง เช่นตกบันได หกล้ม หรือลื่นในห้องน้ำ  เราลองมาดูกันนะคะ ว่ามีแบบ แผนประกันอุบัติเหตุผู้สูงวัย แต่ละแบบแตกต่างกันอย่างไรบ้าง แต่ละแบบก็มีจุดเด่นที่แตกต่างกันไปนะคะ

1. PA Smooth Protect ของอาคเนย์ประกันภัย

  • ประกันตัวนี้สำหรับผู้เอาประกัน 55-75 ปี และสามารถต่อได้ถึง 85 ปี
  • รับประกันสำหรับขั้นอาชีพที่ 1 และ 2 เช่นเจ้าของกิจการ พนักงานบริษัท ครู นักเรียน ผู้พิพากษา อัยการ อาชีพที่ไม่ได้เสี่ยงภัย
  • มีค่าปลงศพ และค่าใช้จ่ายในการจัดงานศพ
  • มีค่าชดเชยค่าทำกายภาพบำบัดเนื่องจากอุบัติเหตุ
  • มีเงินชดเชยค่าใช้จ่ายสำหรับอุปกรณ์ช่วยเหลือในการเคลื่อนที่ผู้ป่วยจากอุบัติเหตุ
  • มีค่าชดเชยค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปรักษา
  • มีเงินชดเชยสำหรับกองมรดก
  • มีการแถลงสุขภาพในใบคำขอเอาประกัน ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการพิจารณารับประกันภัย

2. PA Happy 45 Plus ของกรุงเทพประกันภัย

  • ผู้เอาประกันอายุ 45-75 ปี และต่ออายุกรมธรรม์ได้ถึง 100 ปี
  • เหมาะสำหรับผู้ที่มีอายุ 45 ปีขึ้นไป รับความคุ้มครองโดยไม่ต้องตรวจสุขภาพ
  • คุ้มครองกรณีเสียชีวิต รับความคุ้มครองเพิ่มเป็น 2 เท่า กรณีสูญเสียอวัยวะ หรือทุพพลภาพสิ้นเชิงจากอุบัติเหตุ
  • ค่ารักษาพยาบาลเนื่องจากอุบัติเหตุ สูงสุด 525,000 บาท
  • ค่ารถเข็นผู้ป่วย (Wheel Chair) 10,000 บาท
  • มีการแถลงสุขภาพ

3. Smart Plan/Exclusive Plan ของ Pacificcross

  • สำหรับผู้เอาประกันภัย 18-75 ปี
  • ผู้เอาประกันไม่ต้องตรวจสุขภาพ
  • ผู้เอาประกันต้องประกอบอาชีพขั้น 1

ตารางเบี้ย Smart Plan

ตารางเบี้ย Exclusive Plan

  • จะเหมาะสำหรับผู้ต้องการเอาเงินประกันความคุ้มครองตั้งแต่ 1-5 ล้านบาท
  • มีผลประโยชน์จากค่าใช้จ่ายทันตกรรม
  • มีผลประโยขน์จากกระดูกแตกหัก ไฟไหม้ น้ำร้อนลวก และการบาดเจ็บจากอวัยวะภายใน

4. Senior PA  จาก CHUBB

  • รับประกัน อายุ 50-75 ปี และต่ออายุกรมธรรม์ถึง 80 ปี
  • ต้องไม่เป็นโรคร้ายแรง เช่น โรคเอดส์ โรคมะเร็ง โรคหัวใจ โรคพิษสุราเรื้อรัง เป็นต้น

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *